วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

สืบค้นข้อมูล กลุ่มทอผ้าบ้านหนองคู ตรา แก้วใจผ้าทอมือ

เข้าพบผู้ประกอบการวันที่ 5 และ 30 เดือนมกราคม พ.ศ. 2559
ณ 101 หมู่ที่ 8 บ้านหนองคู ตำบลโพธิ์กระสังข์  อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ รหัสไปรษณีย์ 33150

ผู้ประกอบการ SME ประเภท1. กิจการผลิต ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน
1.ข้อมูลทั่วไปของผู้ประกอบการ
ตรา : แก้วใจ ผ้าทอมือ
ชื่อ : คุณกิ่งแก้ว คำลอย อายุ 41 ปี
ผู้ให้สัมภาษณ์/ผู้ให้ข้อมูล คุณกิ่งแก้ว คำลอย
ตำแหน่งงาน : ประธานกลุ่มทอผ้าบ้านหนองคู
ประสบการณ์ทำงาน : 26 ปี
โทรศัพท์ : 098-152-7718, 084-888-1580
ที่อยู่อีเมลส่วนตัวของผู้ให้สัมภาษณ์/ประสานงาน : kingnong.mc@gmail.com

ภาพที่ 1 ป้ายสถานประกอบการกลุ่มทอผ้าบ้านหนองคู
ที่มา : นางสาวศิรินันท์ สะอาด, 2559

ภาพที่ 2 ถ่ายภาพร่วมกับกลุ่มผู้ปรพกอบการ 
ที่มา :  นางสาวศิรินันท์ สะอาด, 2559


ภาพที่ 3 หนังสือสำคัญส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ.2548 เรียบร้อยแล้ว รหัสทะเบียน 4-33-08-11/1-0033
ที่มา : นางสาวศิรินันท์ สะอาด, 2559  

ภาพที่ 4 ภาพได้รับคัดสรรผลิตภัณฑ์ ระดับสี่ดาว ปี 2558
ที่มา ; นางสาวศิรินันท์ สะอาด, 2559

ภาพที่ 5 ภาพการเลี้ยงไหม
ที่มา : นางสาวศิรินันท์ สะอาด, 2559

       อุปกรณ์การเลี้ยงไหม เช่น กระด้งเลี้ยงไหม มีด เขียง ตาข่ายถ่ายมูล จ่อ ตะแกรงร่อน ตะเกียบ ถังน้ำ เข่งหรือตะกร้าเก็บใบหม่อน รองเท้าแตะ สารโรยตัวไหม ปูนขาว เป็นต้น ห้องเลี้ยงไหม สำหรับในส่วนของอุปกรณ์และห้องเลี้ยงไหมจะต้องทำความสะอาดโดยการล้างด้วยผงซกฟอก และตากแดดให้แห้ง เพื่อเป็นการฆ่าเชื้อโรค ซึ่งเป็นวิธีการป้องกันกำจัดโรคที่ดีที่สุด

ภาพที่ 6 ได้ไหมที่สามารถนำไปสาวเป็นเส้นใย
ที่มา ; นางสาวศิรินันท์ สะอาด, 2559

ภาพที่ 7 การสาวไหม
ที่มา ; นางสาวศิรินันท์ สะอาด, 2559

       การสาวเส้นไหม หมายถึง กระบวนการดึงเส้นใยไหมออกจากรังไหม โดยการใช้ความร้อนจากน้ำร้อนในการละลายกาวเพื่อทำให้เปลือกรังอ่อนตัวลงและสามารถดึงเส้นใยออกมาเป็นลักษณะเส้นด้าย เราเรียกว่า การสาวเส้นไหม สืบค้นเมื่อ : http://www.qsds.go.th/monmai/cloth_process.php?cloth_id=4&process_id=45 25/01/59



ภาพที่ 8 นำไหมที่สาวได้มาตากให้แห้ง
ที่มา : http://www.qsds.go.th/monmai/cloth_process.php?cloth_id=4&process_id=45, 24/02/59

ภาพที่ 9 ภาพการย้อมผ้า
ที่มา : http://www.qsds.go.th/monmai/cloth_process.php?cloth_id=3&process_id=11, 24/02/59

ภาพที่ 10 นำได้ที่เอามาจากการตากแห้งมาปั่นไว้ในกงเก็บไหม
ที่มา ; นางสาวศิรินันท์ สะอาด, 2559

ภาพที่ 11 การเตรียมฟืมทอผ้า
ที่มา : http://www.qsds.go.th/monmai/cloth_process.php?cloth_id=3&process_id=12, 24/02/59

การเตรียมฟืมทอผ้า

ทำการค้นเส้นด้ายลักษณะเดียวกับการค้นเส้นยืน จากนั้นนำเส้นด้ายมาร้อยเข้ากับฟืม โดยการร้อยผ่านช่องฟันหวีแต่ละช่องทุกช่องๆละ2เส้น แล้วใช้ท่อนไม้ไผ่เล็กๆสอดเข้าในห่วงเส้นด้ายที่ร้อยเข้าช่องฟันหวีเพื่อทำการขึงเส้นด้ายให้ตรึงและจัดเรียงเส้นด้ายให้เรียบร้อย 

ส่วนด้านหน้าของฟืมก็จะมีท่อนไม้ไผ่เช่นเดียวกับด้านหลังเพื่อทำการขึงเส้นด้ายให้ตรึงเช่นเดียวกับด้านหลังของฟืมที่กล่าวมาแล้ว จากนั้นให้ทำการเก็บตะกอฟืมแบบ2ตะกอ เราก็จะได้ชุดฟืมทอผ้าที่พร้อมสำหรับการทอผ้า สืบค้นเมื่อ : http://www.qsds.go.th/monmai/cloth_process.php?cloth_id=3&process_id=12,25/01/59

ภาพที่ 12 การค้นเครือเส้นยืนและการสืบหูก
ที่มา : http://www.qsds.go.th/monmai/cloth_process.php?cloth_id=3&process_id=14, 24/02/59

การค้นเครือเส้นยืนและการสืบหูก
       นำไจเส้นไหมยืนมาสวมใส่เข้ากงเพื่อกรอเส้นไหมเข้าอัก นำอักที่กรอเส้นไหมแล้วไปทำการค้นเครือเส้นยืน หรือที่เรียกว่า การเดินเส้นยืน
นำเครือเส้นยืนที่ค้นเสร็จเรียบร้อยแล้วไปทำการสืบหูกหรือการต่อเส้นยืนกับฟืมทอผ้าที่ได้เตรียมไว้

การต่อเส้นยืน คือ การนำเส้นไหมเส้นยืนมาผูกต่อกับเส้นด้ายในซี่ฟันหวีโดยทำการต่อที่ละเส้นจนหมดจำนวนเส้นยืน เช่น หากหน้ากว้างของผ้าเท่ากับ 22 หลบ ก็จะต้องทำการต่อเส้นยืนเท่ากับ 1,760 เส้น 

เมื่อต่อเส้นไหมเข้ากับเส้นด้ายที่อยู่ในซี่ฟันหวี่เรียบร้อยแล้ว ก็ให้ทำการม้วนเส้นยืนด้วยแผ่นไม้ในกรณีที่เดินเส้นยืนไว้ยาว แต่หากเส้นยืนที่เดินไว้ไม่ยาวมากก็ให้นำไปขึ้นกี่ทอผ้าได้เลย แล้วทำการจัดเรียงระเบียบของเส้นไหมตามช่องฟันฟืมให้เป็นระเบียบของเส้นไหมตามช่องฟันฟืม ทำการขึงตึงเส้นไหมด้วยไม้ม้วนผ้าที่ติดอยู่กับกี่ทอผ้า แล้วค่อยๆผลักฟืมพร้อมตะกอออกจากรอยต่อของเส้นไหมกับเส้นด้าย ทำการทอผ้าลายขัดคั่นระหว่างรอยต่อกับชุดฟืมและตะกอ เพื่อให้เส้นไหมตึง แน่น และแข็งแรง 

จากนั้นให้ใช้น้ำที่ได้จากนำข้าวเหนียวที่นึ่งแล้วมาบี้จนได้น้ำเหนียวที่เป็นน้ำใสๆหรือแป้งมันสำประหลังใสทาให้ทั่วเส้นยืน ใช้น้ำพรมให้เปียกชุ่มทั่วเส้นไหมใช้หวีเส้นยืน ปล่อยให้แห้งหมาดแล้วเคลือบด้วยขี้ผึ้งหรือไขสัตว์

สำหรับสมัยนี้ใช้ครีมนวดผมแทน เส้นยืนที่เตรียมได้ก็จะมีลักษณะเส้นกลม แข็งแรง เส้นไหมจะมีความลื่นทำให้ไม่แตกเป็นขนจากการเสียดสีกับช่องฟันฟืมเวลาทอผ้า สืบค้นเมื่อ http://www.qsds.go.th/monmai/cloth_process.php?cloth_id=3&process_id=14, 25/01/59



ภาพที่ 13  การมัดลวดลาย
ที่มา : http://www.qsds.go.th/monmai/cloth_process.php?cloth_id=3&process_id=16 24/02/59

การมัดลวดลาย
       ทำการมัดลายตามที่ออกแบบไว้ ส่วนใหญ่ลวดลายมัดหมี่โบราณจะประกอบด้วย 2 สีหลัก คือสีแดงและสีขาว แต่จะมีการเพิ่มสีสันในกระบวนการทอด้วยการทอสอดเส้นไหมแบบค้ำเพลาในการคั่นลวดลายบนผืนผ้า ปัจจุบันการมัดลายหมี่จะใช้เชือกฟาง เพื่อความสะดวก รวดเร็ว และลดต้นทุนการผลิต

       ในสมัยโบราณการทำผ้าไหมมัดหมี่จะมีความพิถีพิถันและเป็นธรรมชาติจริงๆ การมัดลายจะใช้เชือกจากกาบต้นกล้วยพันธุ์พื้นบ้าน ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า พันธุ์กล้วยนวล ลักษณะพิเศษ คือโคนลำต้นใหญ่ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดไม่สามารถขยายพันธุ์ด้วยหน่อได้ ปัจจุบันยังคงมีตามหมู่บ้านที่มีการทอผ้า

       ในสมัยโบราณผู้ทอผ้าไหมมัดหมี่ จะต้องทำเชือกกล้วยนวลโดยการนำเอากาบของต้นมาลอกแต่ส่วนที่เป็นเปลือกด้านนอก ทำการฉีกเป็นเส้นเล็ก นำไปตากแดดจนแห้งเชือกกล้วยที่ได้มีความเหนียวมาก จึงทำให้นำมามัดลายหมี่ได้ การมัดลายเริ่มต้นด้วยการมัดเก็บสีขาว ด้วยลวดลายหมากจับ ซึ่งเป็นที่นิยมมากเพราะเป็นลวดลายเล็กๆ จากนั้นจึงมัดลายหมี่ข้อเป็นระยะๆ มัดลายขอ ตามด้วยลายขาเปีย และลายปราสาทหรือเรียกอีกชื่อว่าลายเสา รวมเป็น 5 ลาย ซึ่งในการมัดลายสามารถทำได้ 2 วิธี คือ การมัดลายทุกลายในหัวหมี่เดียวกัน หรือทำการมัดแยกแต่ละลายในแต่ละหัวหมี่ก็ได้ แล้วมาต่อลายในขั้นตอนการทอผ้า เข้าถึงข้อมูล : http://www.qsds.go.th/monmai/cloth_process.php?cloth_id=3&process_id=16, 24/02/59

ภาพที่ 14 ภาพการย้อมสีหัวหมี่ที่มัดลายเรียบร้อยแล้ว 
ที่มา : http://www.qsds.go.th/monmai/cloth_process.php?cloth_id=3&process_id=16, 24/02/59

ภาพการย้อมสีหัวหมี่ที่มัดลายเรียบร้อยแล้ว 
นำหัวหมี่ที่มัดลายไปย้อมสีด้วยสีแดงจากครั่งที่ได้เตรียมไว้แล้ว โดยทำการย้อมเย็นก่อนเพื่อให้น้ำสีแทรกซึมเข้าไปในเส้นไหมอย่างสม่ำเสมอทั่วทั้งหัวหมี่ แล้วนำไปตั้งเตาเพิ่มความร้อนให้น้ำย้อมสีจนกระทั่ง 90 องศาเซลเซียส ประมาณ 30 นาที แล้วจึงมาล้างสีด้วยน้ำสะอาดจนน้ำที่ใช้ล้างสีใส ไม่มีสีเจือปนอยู่ บีบให้แห้ง นำไปตากผึ่งให้แห้ง ทำการแกะเชือกมัดลายออก ก็จะได้ลวดลายมัดหมี่จำนวน 2 สี คือ สีแดง กับ สีขาว

ภาที่ 15 ทำการแกะเชือกมัดลายออก
ที่มา : http://www.qsds.go.th/monmai/cloth_process.php?cloth_id=3&process_id=16, 2402//59


ภาพที่ 16   ทอผ้าถุงโดยกลุ่มทอผ้าบ้านหนองคู
ที่มา : นางสาวศิรินันท์ สะอาด, 2559

ภาพที่ 17 ภาพการฝึกหัดทอผ้าด้วยมือ
ที่มา : นางสาวศิรินัท์ สะอาด, 2559

ภาพที่ 18 ผู้ประกอบการสอนการทอตีนสิ้น
ที่มา : นางสาวศิรินันท์ สะาด, 2559

ถาพที่ 19 ผลิตภัณฑ์ผ้าไหม
ที่มา : นางสาวศิรินันท์ สะอาด, 2559

ภาพที่ 20 สอบถามข้อมูลผ้าทอกับผู้ประกอบการ

ภาพที่ 21 สอบถามข้อมูล
ที่มา : นางสาวศิรินันท์ สะอาด, 2559

       ประเทศไทยมีประวัติการทอผ้าใช้กันในหมู่บ้าน มาตั้งแต่โบราณกาล เป็นผ้าที่ทอด้วยมือ สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยใช้สีจากวัตถุดิบธรรมชาติมาย้อม มีการพัฒนาและประยุกต์เป็นลวดลายต่างๆ และเป็นที่ต้องการของตลาด จังหวัดศรีสะเกษเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีวัฒนธรรมการทอผ้าด้วยมือมานานและได้สืบทอดเป็นมรดกทางวัฒนธรรม เป็นจังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ติดกับประเทศกำภูชา(เขมร) จึงได้รับอิทธิพลการทอผ้าที่มีลวดลาย ส่วย-เขมร ส่วยเป็นเผ่าหนึ่งที่อยู่ในจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งกลุ่มทอผ้าบ้านหนองคู ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2548 แต่เดิมไม่ได้ใช้ชื่อนี้ เปเป็นกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านหนองคู ก่อตั้งได้ 5-6 ปี กลุ่มก็ล่ม เพราะชาวบ้านได้แยกย้ายกันไปทำงานที่อื่นกัน ทำให้ขาดคนทอผ้าไปหลายๆคน ต่อมากลุ่มได้จัดทอผ้ากันขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2555 โดยมีคุณกิ่งแก้ว คำลอย เป็นประธานกลุ่ม จึงใช้ชื่อกลุ่ม เป็นกลุ่มทอผ้าบ้านหนองคู แล้วจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนขึ้นในปี พ.ศ. 2557 จนถึงปัจจุบัน กลุ่มทอผ้าบ้านหนองคูเป็นคนเผ่าส่วย-ลาว ภาษาที่พูดก็จะเป็นภาษา ส่วย ลาว เขมร ดังกล่าวมาข้างต้นจึงทำให้ผ้าทอมือ ของกลุ่มทอผ้าบ้านหนองคูได้กลายเป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่น่าสนใจยิ่ง หากศึกษาอย่างลึกซึ่งแล้ว จะค้นพบเหตุผลหลายประการที่สนับสนุนว่า จังหวัดศรีสะเกษมีเอกลักษณ์เฉพาะของตนเองในเรื่องทอผ้าด้วยมือ      ตลอดจนประเพณีวัฒนธรรมต่างๆ ซึ่งส่งผลต่อการผลิตและการทอ ไม่ว่าจะเป็นลวดลายของผ้าไหม และกรรมวิธีการทอ นอกจากนี้การทอผ้าไหมของจังหวัดศรีสะเกษ ยังมีกรรมวิธีการทอที่สลับซับซ้อน และเป็นกรรมวิธีที่ยาก ซึ่งต้องใช้ความสามารถและความชำนาญจริง เช่น การทอผ้ามัดหมี่พร้อมยกดอกไปในตัว ซึ่งทำให้ผ้าไหมที่ได้ เป็นผ้าเนื้อแน่นมีคุณภาพดี

   แต่การทอผ้าด้วยมือตามแบบดั้งเดิมนั้น ก็เกือบจะสูญหายไปโดยสิ้นเชิง หากไม่ได้มีการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาได้ทันกาล เห็นได้ว่าในปัจจุบันนี้ ผ้าพื้นเมืองของไทย ในภาคต่างๆ กำลังได้รับการอนุรักษ์ฟื้นฟู และพัฒนา รวมทั้งได้รับการส่งเสริมให้นำมาใช้สอยในชีวิตประจำวันกันอย่างกว้างขวางมาก ทอผ้าเป็นอาชีพเสริม และนำออกขายในลักษณะสหกรณ์ เช่น กลุ่มทอผ้าของศิลปาชีพ อย่างไรก็ตามในสภาพที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น เป็นการทอ เพื่อขายเป็นหลัก ดังนั้นจึงได้มีการปรับปรุงพัฒนาสีสัน คุณภาพ และลวดลาย ให้เข้ากับรสนิยมของตลาด การทอผ้าเป็นงานศิลปหัตถกรรมของผู้หญิงที่เรียนรู้สืบทอดกันภายในครอบครัวต่อมาหลายๆ ชั่วคน นับว่าเป็นบทบาททางสังคมวัฒนธรรมที่สำคัญอย่างหนึ่งของผู้หญิงไทยในท้องถิ่นต่างๆ

       จากการที่รัฐบาลให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น โดยการสนับสนุนในทุกๆ ด้านไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาศักยภาพทางด้านการผลิต การบริหารจัดการกลุม การตลาด การสนับสนุนแหล่งเงินทุนทุนและการให้วามรูด้านการจัดการธุรกิจ เพื่อให้เกิดการเพิ่มขึ้นของรายได ลดรายจ่าย และเป็นการขยายโอกาสให้กับประชาชนตั้งแต่ระดับรากหญ้า และเป็นการส่งเสริมให้เกิด กระบวนการเรียนรูการพึ่งพาตนเองจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ความร่วมมือร่วมใจจากคนในชุมชน สวนราชการและภาคเอกชนในพื้นที่ แต่มีผลิตภัณฑ์จำนวนไมน้อยที่ยังขาดการพัฒนาในเรื่องการสร้างบรรจุภัณฑ์ และขาดการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น กลุ่มทอผ้าบ้านหนองคู อำเภอขุนหาญ จัดหวัดศรีสะเกษ เป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ.2548 เรียบร้อยแล้ว รหัสทะเบียน 4-33-08-11/1-0033 ยังได้รับเลือกให้เป็น ผลิตภัณฑ์ ๑ ตำบล ๑ ผลิตภัณฑ์ OTOP 4 ดาว ได้รับรางวัลชนะเลิศ กลุ่มอาชีพดีเด่น ระดับจังหวัด และมีศักยภาพในการผลิตโดยไดรับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) และไดรับรองจาก กรมการพัฒนาชุมชน (พช.) กระทรวงมหาดไทย

       แต่ส่วนใหญ่ยังขาดเรื่องบรรจุภัณฑ์ที่มีความ เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ ซึ่งควรไดรับการส่งเสริมและพัฒนารูปแบบใหม่ๆ ตามแนวคิดเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ เพื่อดึงดูดผู้บริโภคและส่งเสริมยอดจำหน่ายสินค้าชุมชน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การพัฒนาปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงบรรจุภัณฑ์ให้ตรงตามอัตลักษณ์ของอำเภอขุนหาญ โดยรูปแบบในการพัฒนาเป็นด้านกราฟิกบรรจุภัณฑ์ เป็นการส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP และบริหารจัดการชุมชน เพื่อเชื่อมโยงการทองเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ที่จะให้ผู้คนรู้จักผ้าทอด้วยมือ ผลิตภัณฑ์ชุมชน ซึ่งผู้วิจัย จึงพัฒนากราฟิกบรรจุภัณฑ์